เจแปนีส กรังด์ปรีซ์ ความภาคภูมิใจของฮอนดะ

เจแปนีส กรังด์ปรีซ์ ความภาคภูมิใจของฮอนดะ
“เจแปนีส กรังด์ปรีซ์” ความภาคภุมิใจของ “มิสเตอร์ ฮอนดะ” ผู้ก่อตั้ง ที่ต้องการให้ญี่ปุ่นทัดเทียมกับตะวันตก

เจแปนีส กรังด์ปรีซ์ หนึ่งในรายการที่มีสเน่ห์ที่สุดของศึก ฟอร์มูล่า วัน ด้วยองค์ประกอบมากมาย ทั้งสนามที่สวยงามเต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ และเรื่องราวมากมายในประเทศที่กลุ่มแฟนมีสีสันและมีระเบียบเรียบร้อย แต่กว่าจะมีวันนี้ ที่นี่ผ่านความทรหดมามาก


ถ้าพูดถึงแบรนด์ฮอนด้า ทุกคนย่อมรู้ดีว่าเป็นผู้ผลิตรถทั้งสองและสี่ล้ออันดับต้นๆ ของโลก ช่วงต้นยุค 1950 ฮอนด้าพารถเข้าไปแข่งขันในรายการระดับโลก เพื่อสร้างชื่อเสียงและขยายธุรกิจในต่างแดน แต่เท่านั้นยังไม่พอ โซจิอิโระ ฮอนดะ ต้องการสนามทดสอบและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทัดเทียมกับชาติจากอีกซีกโลก เขาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องสร้างมันขึ้นมา 


ฮอนด้า บริษัทผู้ผลิตรถยนตร์อันเลื่องเชื่อที่ซื้อพื้นที่ในจังหวัดมิเอะเอาไว้เมื่อปี 1959 ด้วยความตั้งใจจะสนามแข่งรถ จากนั้นอีก 2 ปีต่อมา มิสเตอร์ ฮอนดะส่งโทรเลขไปหา ยอห์น ฮูเกนฮอลท์ซ ผู้ออกแบบสนามซานด์ฟอร์ท (เนเธอร์แลนด์ส) เป็นข้อความสั้นๆ ว่า “ผมจะสร้างสนามแข่ง ได้โปรดมาที่โตเกียว” ลงชื่อ โซอิจิโระ ฮอนดะ


ที่จริงแล้วการออกแบบครั้งแรก ไม่มีจุดตัดกลางเลข 8 แต่เป็นการออกแบบสนามที่เต็มไปด้วยโค้งแบบซิกแซก เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่รอบๆ ซึ่งเป็นทุ่งนาจำนวนมาก ฮันส์ ลูกชายของ ยอห์น บอกว่า คุณพ่อเคยเล่าถึงการออกแบที่ค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากมีที่นาบางส่วนที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ ดังนั้นการสร้างสนามให้มีทางโค้งหรือจุดตัดต่างๆ อย่างที่สนามแข่งรถควรมีเพื่อความท้าทายจึงขาดหายไปจากแบบแปลนชุดแรก 


หลังจากวางโครงร่าง ฮูเกนฮอลท์ซ และ มิสเตอร์ ฮอนดะ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อพูดคุยกันเรื่องแบบแปลน และฮอนดะรับปากว่า จะจัดการทุกอย่างเพื่อให้สนามออกมาดีที่สุด จากนั้นไม่กี่วันต่อมา ที่นาของชาวบ้านบริเวณนั้นจึงโดนซื้อโดยฮอนด้า แบบแปลนได้รับการแก้ไข ในที่สุดโครงร่างที่ใกล้ความจริงจึงเสร็จสมบูรณ์ในปีถัดมา และเริ่มการก่อสร้าง เปิดใช้งานได้จริงในปี 1962 


ซูซูกะ เซอร์กิต จึงมีรูปแบบอันโดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยการออกแบบที่มีจุดตัดคล้ายเลข 8 กึ่งกลางการแบ่งสัดส่วนฝั่งตะวันออกและตะวันตก เหล่านักขับรู้ดีว่าที่นี่มีความท้าทายอย่างยิ่ง ต้องขับขึ้นสะพานและลอดใต้สะพาน โค้งทั้ง 18 ยังรวบรวมเอาความยากในการเข้าโค้งที่นักขับต้องใช้ทักษะอย่างครบถ้วน 


ยุคนั้นมีการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ ปีเตอร์ วอร์ เป็นแชมป์ทีมโลตัส และได้เชิญมาที่สนามแห่งนี้เช่นกัน จากนั้นจึงมีการจัดการแข่งขัน มอเตอร์ไซค์ชิงแชมป์โลกแน่นอนว่าต้องมีทีมฮอนด้า! แต่ชื่อโค้ง เอิร์นส์ เด็คเนอร์ มาจากนักขับของทีมซูซูกิชาวเยอรมัน ที่ลงแข่งแล้วประสบอุบัติเหตุ มีแผลเป็นรอยไหม้ เขาหายกลับมาเป็นปกติ แต่ก็มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติและเป็นการขอบคุณที่ทุกอย่างไม่ย่ำแย่ไปกว่านั้น 


รายการหลักในประเภทสี่ล้อเป็น ฟอร์มูล่า ทู แต่เนื่องจากเป้าหมายของมิสเตอร์ฮอนดะ คือความตั้งใจที่จะให้ที่นี่เป็นสนาม ฟอร์มูล่า วัน ดังนั้นปี 1983 จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และความตั้งใจก็สำเร็จในปี 1987 มีการสร้างตึกใหม่ข้างสนาม และสาธารณูปโภคใหม่ 


ยุค 2000 ฟูจิ สปีดเวย์ ที่มี โตโยต้า เป็นเจ้าของ เข้ามาคั่นและเซ็นสัญญา 3 ปี แต่เนื่องจากใช้งบประมาณไปมาก และปัญหาการเงินของบริษัท ทำให้การแข่งขันกลับมาที่ ซูซูกะ อีกครั้งในปี 2010


แชมป์มากสมัยที่สุดที่นี่เป็นของ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ 6 ครั้งในยุครุ่งเรืองกับ เฟอร์รารี่ รองลงมาคือ ลูอิส แฮมิลตัน 5 ครั้งและเป็นเจ้าของความเร็วต่อรอบที่ดีที่สุด ทำไว้ในปี 2019 ที่ 1:30.983 ส่วนทีมที่มีสถิติที่สุดเป็นของ แม็คลาเรน 9 สมัย 


ปี 2022 การลุ้นแชมป์ ฟอร์มูล่า วัน ยังคงมีเรื่องราวให้ติดตาม เพราะจากสนามก่อน ทุกอย่างยังไไปไม่สุดทาง เมอร์ซิเดส ทำท่าว่าจะเสียตำแหน่งแชมป์โลก 8 สมัยซ้อน การุล้นแชมป์เป็นของนักขับ เร้ดบูลล์ เรซิ่ง และ เฟอร์รารี่ แต่จะน่าตื่นเต้นแค่ไหน อย่าง ติดตามได้ทาง ทรูสกอร์ต 1 (666) วันที่ 7-9 ต.ค. นี้

F1DRIVE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร :

Website : www.truevisions.co.th

Facebook : Truevisions

Twitter : @TrueVisions

Line : @Truevisions

Youtube official : Truevisionsofficial

Instagram : Truevisionsofficial

TrueVisions.co.th ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและนำเสนอ ประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้แก่ท่านตาม ข้อกำหนดการใช้งานเว็บไซต์ และนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

truevisoins logo กลุ่มทรูยกระดับการดูแลข้อมูลอย่างปลอดภัยมั่นใจยิ่งขึ้นพร้อมบริการและสิทธิประโยชน์ที่ตรงใจคุณได้ปรับปรุงเงื่อนไขให้บริการ และขอความยินยอมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ถาม

มะลิ