WHAT’S NEW มีอะไรใหม่ใน F1 2022

WHAT’S NEW มีอะไรใหม่ใน F1 2022
กฎเกณฑ์ต่างๆ ในกีฬามีการเปลี่ยนแปลงเสมอเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ฟอร์มูล่า วัน ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะปรับตัวอยู่เสมอในฐานะมอเตอร์สปอร์ตที่ล้ำหน้ากว่าใครในด้านเทคโนโลยีที่อยากให้ความเร็วควบคู่กับความปลอดภัย และให้สมกับการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่

การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตคนเรา การแข่งขันกีฬาก็เช่นกัน หลากหลายประเภทกีฬามีกฎเกณฑ์ที่ต้องนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น โลกหมุนเท่าเดิม แต่ยุคสมัยเปลี่ยนทุกคนพยายามปรับตัว ฟอร์มูล่า วัน ก็เป็นแบบนั้นในฐานะมอเตอร์สปอร์ตที่ล้ำหน้ากว่าใครและเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำวงการระดับโลก


ในระยะยาว สหพันธ์ยานยนตร์นานาชาติหรือ เอฟไอเอ อยากลบคำครหาว่า เอฟ วัน เป็นกีฬาสิ้นเปลือง และพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ลดโลกร้อน ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีและพลังงานสะอาดในปี 2030 แต่ก่อนถึงวันนั้น ปี 2022 ก็เริ่มข้าสู่ยุคใหม่ ด้วยการแข่งขันมากที่สุด 23 สนาม (แม้ รัสเซี่ยน กรังด์ปรีซ์ โดนยกไป แต่อาจมีประกาศสนามใหม่ทดแทน) และจะมีอะไรใหม่ๆ ให้ติดตามมากกว่าแค่ความเร็ว เพราะการขับขี่รวดเร็วไม่พอ ต้องปลอดภัยด้วย ปีนี้จึงเป็นทั้งยุคใหม่และการปฏิวัติวงการ


กฎใหม่


มีการวางแผนไว้ตั้งแต่ ปี 2021 แต่ยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ยังไม่จบ ทำให้กฎใหม่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ แต่ปี 2022 เมื่อทุกอย่างเริ่มคลี่คลายก็ถึงช่วงเหมาะสมที่จะเริ่มต้น ซึ่งการเปลี่ยนกฎเป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับตัวรถและการออกแบบที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย


แรงขับจากใต้รถ (Ground Effect)


รถของปี 2022 มีอุโมงหรือท่อ 2 ท่อเพื่อดูดอากาศจากพื้นยางมะตอยให้เกิดแรงกด (Downforce) จากใต้ตัวรถ เป็นวิธีการที่รถในทศวรรษ 1970 และ 1980 ใช้กันอย่างแพร่หลาย แนวทางนี้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ และนับเป็นการใช้ประโยชน์จากสภาพสนามและสภาพอากาศต่างๆ กัน และลดการเกิดไอเสีย (Dirty Air) ที่จะสร้างปัญหาให้กับรถที่ตามหลัง


ปีกหน้า และ ปีกหลัง (Simplified Front Wing and Sharp Rear Wing)


โดยปกติแล้ว ปีหน้าและหลังเป็นส่วนที่ประคองตัวรถ การออกแบบอาจมีเสียงวิจารณ์เรื่องความสวยงาม แต่ที่จริงแล้วทั้งสองส่วนสำคัญกับตัวรถมาก โดยรูปแบบใหม่ทำให้ลมที่จะผ่านตัวรถไม่กระจายออกแต่ลดการขยายวงของมวลอากาศ ที่ปีกหลังยังมี DRS (Drag Reduction System) ที่จะช่วยลดแรงต้านเช่นเคย แต่เมื่อปีกข้างหน้าและหลังปล่อยมวลอากาศเป็นวงแคบลง การใช้ DRS ในจังหวะแซง ก็อาจไม่สร้างความต่างมากนัก แต่จะทำให้รถเข้าใกล้กันได้มากขึ้น แรงกดจากรถคันหน้าจะลดลง 35 เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับรถของปี 2021 


ยางรถขนาด 18 นิ้วและปีกครอบล้อ (18-inch tyres with wheel winglets)


ยางขนาดใหญ่เป็นการออกแบบย้อนยุคอีกอย่างที่ได้รับการนำกลับมาใช้ ข้อเสียของมัน อเล็กซ์ อัลบอน เคยบอกไว้ตอนที่ทดสอบรถว่าทำให้มีปัญหาเล็กน้อยเรื่องทัศนวิสัยในการขับ ส่วนครบล้อที่หลายคนดูแล้วอาจคิดว่ามันเป็นบังโคลน แต่ที่จริงเป็นปีครอบที่จะช่วยในการไล่ลม 


ผู้อำนวยการการแข่งขันคนใหม่ 


ไมเคิ่ล มาซี่ ผู้อำนวยการการแข่งขันโดนถอดจากตำแหน่ง ที่จริงแล้วมีข้อพิพาทหลายอย่างเกิดขึ้นตลอดซีซั่น แต่ที่รุนแรงสุดขีดจนดูคล้ายความอยุติธรรมก็คือการนับรอบหลังจากเซฟตี้คาร์ออกมาวิ่งใน อาบู ดาบี้ กรังด์ปรีซ์ 2 รอบสุดท้าย ทำให้ นีลส์ วิททิช ผอ.สนามแข่ง DTM และ เอดูอาร์โด้ ฟรีตาส ผอ.สนามแข่ง World Endurance เข้ามาทำหน้าที่แทน และมี เฮอร์บี้ แบลช วัย 73 ปีที่เคยทำหน้าที่ร่วมกับ ชาร์ลี ไวทิ่ง มาแล้ว ซึ่งการตัดสินในสนามจริงจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป และแฟนๆ จะได้เห็นแชมป์โลกหน้าใหม่หรือหน้าเดิม เริ่มนับหนึ่งที่ บาห์เรน กรังด์ปรีซ์ 20 มี.ค. นี้ ทาง ทรูวิชั่นส์ เท่านั้น 





F1 DRIVE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร :

Website : www.truevisions.co.th

Facebook : Truevisions

Twitter : @TrueVisions

Line : @Truevisions

Youtube official : Truevisionsofficial

Instagram : Truevisionsofficial